วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2558

L E V I'S BY M E


   วัสดีครับ ผม แม็ก ฐากร อัญภานนท์ สำหรับบล็อคข้อมูลของผมในที่นี้ ขอเสนอเรื่องราวตำนานของกางเกงยีนส์ที่ผ่านมาราวๆร้อยปีได้แล้ว และไม่มีใครไม่รู้จักแบรนด์นี้ นั่นคือ Levi's นั่นเอง ซึ่ง กางเกงยีนส์ Levi's นี้ต้องขอบอกว่าอย่างน้อยๆวัยรุ่นสมัยใหม่ต้องรู้จักในระดับหนึ่ง เพราะแบรนด์ในตำนานนี้นั้นเรียกได้ว่ายังคงดำเนินไปอยู่เพราะ Levi's ได้เป็นหนึ่งในแฟชั่นของวัยรุ่นสุดชิคไปเรียบร้อยแล้ว อยากแต่งตัวแนว Vintage หรือจะแต่งตัวย้อนยุค สไตล์ช่วงปี 70's 80's 90's ถ้าหากมียีนส์ Levi's ปีเก่าๆปีลึกๆใส่ ขอบอกว่า การแต่งตัวของคุณไม่น้อยหน้าใครเป็นแน่แท้
      ละบล็อคนี้ผมขอเสนอข้อมูลของกางเกงยีนส์ Levi's ต้นกำเนิดของ Levi's และทรง รุ่นที่นิยมในปัจจุบัน และเผยถึงคุณค่าของกางเกงยีนส์
Levi's ปีเก่าที่ทรงคุณค่า ที่ราคาของกางเกงยีนส์ Levi's ถึงจะเก่า ถึงจะเป็นกางเกงที่ผลิตในช่วง 70's หรือ จะ 80's 90's ผู้คนภายนอกอาจจะบอกว่ามันไร้สาระ แต่จริงๆแล้วนั้นมันเป็นคุณค่าซึ่งอยู่ในจิตใจ ราคาของกางเกงยีนส์ Levi's นี้ ยิ่งปีเก่ามากเท่าไหร่ ยิ่งลึกมากแค่ไหน ราคาก็ยิ่งสูงขึ้นไปตามๆกัน ไม่น่าเชื่อเลยว่าราคาเริ่มต้นของกางเกงยีนส์ ที่บางคนอาจจะเห็นเป็นแค่เศษผ้าเก่าๆยุ่ยๆนั้น ราคานั้นเริ่มต้นจากหลักพันต้นๆถึงหลักหมึ่นปลายๆเลยก็ว่าได้ แม้กระทั่งหลักแสนต้นๆก็ยังมี ดูถูกไม่ได้จริงๆกับคุณค่าของกางเกงยีนส์เก่าๆ เริ่มแรกแม็กขอพาทุกคนไปรู้จักกับประวัติของกางเกงยีนส์ Levi's กันก่อนเลยดีกว่าว่าที่มานั้นมันมาจากไหน ?


ระวัติของกางเกงยีนส์ Levi's และ ที่มาของตำนาน Levi's 501

ผู้ผลิตกางเกงยีนส์รายแรกของโลกคือ ลีวาย สเตราส์ (Levi Strauss) หรือที่เรารู้จักกันอยู่ในยี่ห้อลีวายส์นั่นเอง เขาเป็นชาวอเมริกัน เริ่มนำผ้ายีนส์มาตัดกางเกงเมื่อ ราวปี ค.ศ.1850 หรือ พ.ศ.2393 โดยตั้งชื่อกางเกงยีนส์ตามชื่อผ้าฝ้าย


   1870 - 1879 ผืนผ้าเดนิม(คำว่า เดอ นิม (Denim) มาจาก De Nimes แห่งเมืองนิมส์ เป็นเมืองที่มีช่างฝีมือ ในการทอผืนเนื้อผ้า)ถูกเปลี่ยนตั้งแต่ ค.ศ.1860 Levi Strauss & Co. เริ่มใช้คำว่า XX เมื่อปี ค.ศ.1870 หมายถึงเป็นผ้าเฮฟวี่เดนิม ที่มีคุณภาพดี โดยมีน้ำหนักเป็นพิเศษ Levi Strauss And jakob W David ร่วมกันจดทะเบียนหมุดโลหะ Copper Riveted เมื่อ ค.ศ.1873 ต่อมา ได้ทำการผลิตเดนิม กางเกงยีนส์ Overalls Denim XX เกิดขึ้นมา มีรูปแบบ 3 กระเป๋า จะ สังเกตได้ ที่ด้านหลังมีกระเป๋าหลังด้านขวากระเป๋าเดียว รุ่นแรกๆ นี้ จะเรียกว่ากางเกง โอเวอร์ออลล์ส(Overalls)



   1880 - 1889 ได้ใช้ป้ายหนังแท้ มาทำป้ายหลังในปี ค.ศ.1886 ในยุคสมัยนี้ยังคงเรียกกางเกง Overalls Denim XX (ตัวอักษร XX หมายถึงความเป็นพิเศษของน้ำหนักผืนเนื้อผ้าที่มีคุณภาพดีที่นำ มาใช้ตัดเย็บกางเกง)



   1890 - 1899 ใช้คำว่า 501 คือเลขส่งมอบผืนผ้าจากโรงงาน Amoskeag Manufacturing Company ส่งยัง Levi Strauss & Co. เมื่อปี ค.ศ.1890 กางเกง Overalls Denim 501 XX เย็บกระเป๋าใบที่ 4 คือกระเป๋าวอช พ๊อคเกต ในปี ค.ศ.1890



  1900 - 1909 Levi Strauss & Co.ได้เย็บกระเป๋าหลัง เมื่อปี ค.ศ.1902 ทำให้เป็นกางเกง Overalls ที่มีกระเป๋าครบ 5 กระเป๋า เป็นกางเกง Overalls Denim 501 XX ที่สมบูรณ์แบบ ผลิตรุ่น 502 มีผลิตรุ่น 201 หรือกางเกงรุ่น นัมเบอร์ 2 ผลิตของเด็กชาย เป็นรุ่น 503 ก่อนแตกหน่อออก ไปอีกเป็น 503 A, และ 503 B ซึ่งเป็นของเด็กโตขึ้นมาเป็นวัยรุ่น รุ่น 503 ผลิตยาวถึง ยุค1960s จะเป็นรุ่น 503 Z



  1910 - 1919 กางเกง Overalls Denim 501 XX ยังมีการผลิตรุ่น 502 รุ่น 201 ผลิตรุ่น 503 และรุ่น333 NO.31920 - 1929 กางเกง Overalls Denim 501 XX ได้เย็บหูกางเกงในยุคนี้ และได้ผลิตรุ่น 201 ไปอย่างต่อเนื่องจนถึงยุค 1940



  1930 - 1939 กางเกง Overalls Denim 501 XX สมบูรณ์แบบ มีหูสำหรับร้อยสายเข็มขัด มีซินช์แบ็คเบลท์ ไว้ปรับให้กระชับในกรณีไม่ใช้สายเข็มขัด ในยุคนี้เป็นยุคที่ยกเลิกหมุดโลหะซ้าย-ขวา ของกระเป๋าหลังด้านใน เปลี่ยนเป็นเย็บกระเป๋าหลังครอบคลุมไว้และเย็บแท็กกิ้งทับอีกชั้นหนึ่ง หมุดโลหะเรียกว่า Concealed Copper Rivets นอกจากนี้ มีการใช้ป้ายเรดแท็บ (Red Tab) และได้จดทะเบียนป้ายไว้เเล้ว จากนั้นได้ผลิตกางเกงผู้หญิง Lady Levi's western Overalls 701 โดยใช้ผ้า Sanforized เป็น 701 ของผู้หญิงจะมีทั้งเสื้อเบลาซส์ สำหรับใส่ไปท่องเที่ยวในยุคดู๊ดแรนช์ (Dude Ranch) และมีการผลิตอย่างต่อเนื่องไปถึงยุค 1950's และ 1960's มีเป็นรุ่น Lot 401 Lady Levi’s ได้ออกแบบเป็นพิเศษสำหรับผู้หญิง มีขนาดเอวตั้งแต่ 25 นิ้ว ถึง 33 นิ้ว และผลิตกางเกงผู้หญิงตามแบบฉบับสำหรับใส่ขี่ม้า เป็นรุ่น R 528 Ladies Sanforized Denim Frontiers (ตัว R หมายถึง Riding)กับผลิตเสื้อผู้หญิง เพื่อสวมเข้าชุดกัน รุ่น RJ 92 Ladie’s Sanforized Jacket



  1940 - 1949 กางเกง Overalls Denim 501 XX มีรุ่นผลิตอยู่ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ปี ค.ศ.1942 จนถึง ค.ศ.1944 ทาง Levi Strauss & Co. ได้เรียกกางเกง Overalls ที่เขาผลิตว่าเป็นรุ่นสงครามโลกครั้งที่ 2 บางที่อาจจะใช้คำว่า World War 2 เป็นรุ่น 501 XX, S 501 XX1950 - 1959 กางเกง Overalls Denim 501 XX ถือได้ว่าเป็นที่สุดยอดอีกครั้งหนึ่งของ Levi's เพราะผ่านการผลิตมาแต่ละยุคสมัยจนลงตัว และในยุคนี้เป็นยุคที่รุ่งโรจน์ของอเมริกา ภายหลังมีชัยชนะในสงครามโลกครั้งที่ 2 ดาราฮอลลีวู้ด นักร้องร็อกแอนด์โรล ใครๆ ที่เป็นคนสำคัญในวงสังคมอเมริกัน และของโลกต่างหันมาสนใจในผืนผ้าเดนิม มีการเปลี่ยนแปลงป้ายหลังจากป้ายหนังแท้ มาเป็นป้ายกระดาษปะเก็น ประเดิมรุ่นที่คำว่า Every Garment Guaranteed Lot 501 XX



  1960 - 1969 Levi Strauss & Co. ได้ผลิตกางเกง Denim 501 อยู่ระหว่างคาบเกี่ยวจะเปลี่ยนไปเป็น กางเกงยีนส์ 501 โดยมีการแสดงเกรดของผ้า โดยใช้ตัวอักษร A, S, F อยู่บนตัวเลขหมายรหัส 501 ของป้ายหลังที่เป็นกระดาษปะเก็น Levi Strauss & Co. เคยเรียกกางเกง Overalls Denim 501 XX และได้เปลี่ยนจากคำว่า Denim มาเป็นคำว่ายีนส์ (Jeans) ในยุคนี้ และมีการผลิตยีนส์ Levi's สีขาวขึ้นมา มีการผลิตรุ่น 505 โดยเป็นรุ่นที่ใช้ซิปแทนกระดุม ยุคนี้ได้ผลิตผ้า Shrunk to Fit มาทำเป็นกางเกงยีนส์ลีวายส์ 501 0115 ผืนผ้านี้จะไม่มีการหดตัว



  1970 - 1979 กางเกงยีนส์ 501 XX เปลี่ยนป้ายเรดแท็บ จากที่เคยมีตัวอีใหญ่ (E) มาเป็นตัวอีเล็ก (e) 501รุ่นจากนี้ไปจึงติดป้ายเรดแท็บที่มีคำว่า Levi’s ให้สังเกต ตัวอี นี่เริ่มเป็นจุด ข้อแบ่งแยกป้าย เมื่อคนที่หากางเกงยีนส์ลีวายส์ที่เป็นรุ่นที่แตกต่างกันระหว่างบิ๊กอี และไม่ใช่ จึงทำให้กางเกงที่มีป้ายบิ๊กอีมีราคา



  1980 - 1989 กางเกงยีนส์ 501 XX ได้กลายมาเป็นรุ่น 501 0000 เลขหมาย 0000 เป็นรหัสแทน XX และได้กลับมาเป็น 501 xx พิมพ์ตัวดำ ตัวเอ็กซ์ 2 ตัว จะเล็กเกือบครึ่งของตัวเลข แล้วก็ได้กลายมาเป็น 501 ตัวใหญ่พิมพ์ สีแดง1990 - 1999 กางเกงยีนส์ 501 XX ยังมีการผลิตอย่างต่อเนื่อง และในยุคนี้ได้ออก Levi's Vintage clothing (Vintage ในความหมายของคนวงการยีนส์คือ กางเกงยีนส์รุ่นเก่าๆ เคยผ่านการสวมใส่มาก่อน เป็นกางเกงไม่มีการผลิตขึ้นมาใหม่ จึงทำให้หายาก และเป็นที่ต้องการของนักสะสมยีนส์ คนรุ่นใหม่อยากใส่ยุคเก่าของคนรุ่นก่อน จึงบัญญัติศัพท์ว่า Vintage คือ ผลิตภัณฑ์รุ่นหนึ่งๆ ที่คนพึงพอใจ...ปัจจุบันคำนี้ไว้ใช้เรียก Brand ของ Levi's ที่เป็นสินค้าใหม่แต่ทำเลียนแบบสินค้าเก่า เช่น 501 xx รุ่น 110 ปี หรือรุ่น 150 ปี เป็นต้น ดังได้เขียนบอกกล่าวมาข้างต้น

         นี่คือรูปตัวอย่างกางเกงยีนส์ Levi's 501 รุ่น 110ปี ครับ กระดุม 555 เป็นรหัสกระดุมที่ผลิตจากโรงงาน Valencia ซึ่งปัจจุบันได้ปิดตัวลงเรียบร้อยแล้ว ตัวนี้ของลุงผมเองครับ อายุตัวกางเกงนี่แก่กว่าผมอีก ผ้าแตกเนื้อทราย ทั้งเก่าและเก๋ามากครับ

    2000 - 2009 กางเกงยีนส์ 501 XX ได้ผลิตไปตามความต้องการของลูกค้าที่มีอยู่ทั่วโลก ในปี ค.ศ.2000 นิตยสารไทม์ ได้เขียนถึงกางเกงยีนส์ 501 Jeans ลงบทความที่มีชื่อว่า “The Clothing Piece of The 20 th Century” เครื่องแต่งกายชิ้นสำคัญแห่งศตวรรษที่ 20 ในยุคนี้ได้ผลิตกางเกง Levi's Engineered Jeans ผลิตขึ้นมาเพื่อคนรุ่นใหม่ ที่อยู่ร่วมยุคปี 2000 มาถึงีLevi's Engineered เพื่อการสวมใส่สำหรับทุกกิจกรรมที่คุณสนใจ ต่อมาได้มีการผลิตกางเกงยีนส์รุ่นล่าสุด Levi’s Type 1TM Jeans มาเขย่าตลาดแฟชั่นอย่างต่อเนื่อง

ปิดประวัติศาสตร์ยีนส์ Levi's 501 (ลีวายส์ 501) กว่า 124 ปี

  Levi’s Vintage Clothing (LVC)
ลีวายส์ คัดสรรกางเกงยีนส์ยอดฮิตสุดเก๋าจากช่วงประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า 124 ปีของลีวายส์ 501 มาผลิตใหม่ด้วยกรรมวิธีแบบดั้งเดิมที่เคยทำเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้วในแบบย้อนยุคให้เหมือนเก่าทุกกระเบียดนิ้ว ทั้งเนื้อผ้า รูปทรง ตลอดจนรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ด้วยคุณภาพการผลิตและเทคนิคเฉพาะที่แตกต่างรวมถึงบรรจุภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ โดยลีวายส์ เลือกหยิบกางเกงยีนส์ 501 ในตำนานที่ผลิตในช่วงยุคสมัยคริสตศักราชต่างๆ มาผลิตใหม่ทั้งสิ้น 10 รุ่นคริสตศักราช

กางเกงยีนส์ 501 รุ่นปี 1890 เป็นปีแรกที่ลีวายส์ใช้ตัวเลข “501″ เป็นรหัสรุ่นของกางเกงยีนส์ โดยในยุคนั้นตัวเลข “5″ จะถูกใช้เป็นรหัสนำหน้าของสินค้าลีวายส์ ที่ผลิตจากวัสดุที่ดีที่สุด

กางเกงยีนส์ 501 รุ่นปี 1922 เพิ่มรูร้อยเข็มขัดตรงขอบกางเกงยีนส์ครั้งแรก แต่ยังคงมีกระดุมสำหรับใส่สายเอี๊ยม (suspender) และสายปรับกระชับ (Back buckle belt)

กางเกงยีนส์ 501 รุ่นปี 1933 เป็นรุ่นสุดท้ายที่มีสายปรับประชับ (back buckle belt) และกระดุมสำหรับใส่สายเอี๊ยม (suspender) จุดสำคัญที่สุดของรุ่นนี้ คือ ป้ายสีขาวเล็กๆ พิมพ์รูปนกอินทรีสีฟ้าและตัวอักษร “NRA” (National Recovery Act) ที่อยู่บริเวณป้ายหนัง นอกจากนี้ป้าย Guarantee Ticket ได้ถูกเปลี่ยนจากคำว่า ‘This is a pair of them’ เป็น ‘This is a pair of Levi’s ทรงกระบอกใหญ่ ขาตรง

กางเกงยีนส์ 501 รุ่นปี 1937 มีการเย็บป้ายเร้ดแท็ป (Red Tab) เข้ากับกระเป๋าหลังด้านขวาของกางเกงเป็นครั้งแรกเพื่อสร้างเอกลักษณ์อันโดดเด่นให้แบรนด์ลีวายส์® และซ่อนหมุดย้ำโลหะในการเย็บกระเป๋าหลังเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดรอยขีดข่วนเวลานั่ง

กางเกงยีนส์ 501 รุ่นปี 1944 (World War II) ในสถานการณ์ขาดแคลนในสภาวะสงคราม ลีวายส์® ต้องตัดการตกแต่งที่ไม่จำเป็นออกเพื่อลดปริมาณวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต โดยได้ตัดหมุดย้ำโลหะตรงเป้าด้านหน้าและสายปรับกระชับ (back buckle belt) ออก เส้นโค้งปีกนกบนกระเป๋าหลังถูกใช้วิธีการเพ้นท์สีแทนการเย็บด้วยเส้นด้าย กระดุมหน้าแบบโดนัท และกระดุมด้านบนเป็นรูปช่อมะกอก

กางเกงยีนส์ 501 รุ่นปี 1947 เป็นแม่แบบของกางเกงยีนส์ 501® ในปัจจุบัน ด้วยการตัดเย็บที่มีรูปทรงแบบสลิมเข้ารูปยิ่งขึ้น ใช้การเดินเส้นด้ายตรงกระเป๋าหลังแบบโค้งปีกนกด้วยจักรเป็นเส้นคู่ และเป็นช่วงที่คนยุคใหม่เริ่มหันมาใส่ยีนส์

กางเกงยีนส์ 501 รุ่นปี 1954 เป็นรุ่นแรกและรุ่นเดียวที่ใช้ซิปที่เป้ากางเกง และป้ายหนังมีการพิมพ์รหัส “501Z”

กางเกงยีนส์ 501 รุ่นปี 1955 เริ่มใช้ป้ายปะเก็นกระดาษแบบยุคปัจจุบันครั้งแรก โดยเป็นช่วงที่มีการใช้คำว่า Jeans แทนคำว่า Overall

กางเกงยีนส์ 501 รุ่นปี 1966 เริ่มใช้ Bar Tack แทนการตอกหมุดโลหะบนกระเป๋าหลังด้วยตะขอยึด เนื่องจากเมื่อผ่านการใช้งานเป็นเวลานาน หมุดโลหะมักจะทะลุเนื้อผ้ายีนส์ออกมา และนี่เป็นช่วงปลายของการใช้ Big E บนป้ายเร้ดแท็ป (Red Tab) ส่วนกระเป๋าหลังโค้งคู่ปีกนกมีความโค้งน้อยกว่าปกติ

กางเกงยีนส์ 501 รุ่นปี 1978 มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโลโก้สัญลักษณ์ลีวายส์ บนป้ายเร้ดแท็ป (Red Tab) จาก LEVI’S เป็น Levi’s ทำให้เกิดคอนเซ็ปต์ใหม่ของความเป็น ‘Big E’ และ ‘Little e’

พิเศษกับคอลเลคชั่น LVC ออเร้นแท็ป (Orange Tab) รุ่นปี 1960 ที่ผลิตขึ้นครั้งแรกในสหรัฐฯ เป็นการใช้ป้ายออเร้นแท็ป (Orange Tab) บ่งบอกสัญลักษณ์ลีวายส์ แทนการใช้ป้ายเร้ดแท็ป (Red Tab) สำหรับไอเท็มต่างๆ ทั้งกางเกงยีนส์เข้ารูป เสื้อสวมหัว เสื้อยืด เสื้อเชิ้ตเดนิม และเสื้อแจ็คเก็ตเดนิม ด้วยดีไซน์ที่ทันสมัยยิ่งขึ้น ถือเป็นการปฏิวัติยีนส์คลาสสิคอเมริกันสู่ยุคเจเนเรชั่นใหม่ ทุกวันนี้ ออเร้นแท็ป (Orange Tab) ได้กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งยุคเสรีอันแสนจะเรียบง่ายไปเรียบร้อยแล้ว



   นี่คือรูปภาพกางเกงยีนส์ Levi's ของผมที่ผมใส่อยู่ตอนนี้กันครับ คาดว่าน่าจะผลิตปี 2002 เป็นตัว Re-Produce ครับ






 
                     กระดุมรหัส J22 ผลิตในญี่ปุ่นครับ รหัสของรุ่นนี้คือ Levi's 702 ซึ่งรุ่นนี้จะมีเบลล์หลังเพื่อเวลาใส่เอวสูง เบลล์จะช่วงรัดให้เข้ากับรูปตัวมากขึ้นครับ 


      คอ Vintage หลายๆท่านคงจะรู้ดีเพราะหลายท่านมีรุ่นเบลล์หลังกันเยอะพอสมควรครับ ใส่แล้วสวยดีจริงๆครับ ผมคอนเฟิร์ม!






   องเอารูปของกางเกงยีนส์ Levi's 501 และ 702 ทั้งสองตัวนี้มาเปรียบเทียบกันดูนะครับ กับ 702 ซึ่งผลิตในญี่ปุ่นปี2002 กับ 501 รุ่นครบรอบ 110 ปี ประมาณปี 1980s นำมาลองเทียบกันดูกับงานและความสวยงามครับ ผ้าเข้มกว่าคือ 702 ผ้าที่อ่อนกว่าคือ 501 นะครับ


   ากที่ผมดูๆแล้ว ผมคิดว่า ผ้าจากที่ทอจากโรงงานใน USAของรุ่น110ปีอย่าง Levi's 501 นี้ ผ้าดูสวยกว่าครับ แตกเนื้อทรายเป็นเม็ด เป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์นี้เลยก็ว่าได้ครับ แต่บอกตามตรง Levi's 702 made in japan ก็สวยไม่แพ้กันเลยทีเดียว ด้วยเสน่ห์ของรุ่นมีเบลล์หลัง สวยเหมือนกันทั้งสองตัวเลยครับ



 ละนี่ก็เป็นตัวอย่างของร้านขายกางเกงยีนส์ Levi's นะครับ ซึ่งในบล๊อคของผม ผมขอนำเสนอสองร้านนี้ซึ่งเป็นร้านที่ชอบศึกษาประวัติและเป็นร้านที่เจ้าของเป็นนักสะสม และหลงใหล และรักกางเกงยีนส์ Levi's ร้านแรกผมขอเสนอ ร้านพี่ปอนด์ อยู่ที่สวนจัตุจักรนั่นเอง โครงการ 6 ซอย 3 ติดริมถนน ซึ่งภายในร้านเนี่ย ขอบอกเลยว่ามีกางเกงยีนส์ Levi's สวยๆเรียงต่อกันเพียบเลยหล่ะครับ สภาพนี่เรียกได้ว่าใหม่แต่เป็นกางเกงยีนส์ Levi's ที่เป็นปีเก่าๆทั้งนั้นเลย บางตัวเนี่ยอายุมากกว่าผมอีกนะครับ ส่วนใครที่สนใจก็ลองไปชมไปอุดหนุนร้านพี่ปอนกันได้นะครับ ผมจะให้ดูรูปภาพบรรยากาศภายในร้านให้ทุกคนดูกันครับ

                                               พี่ปอนด์ เจ้าของร้านครับ ถ่ายคู่กับผมเองครับ


                     
                และนี่ก็คือบรรยากาศภายในร้านนะครับ และดงตำนานกางเกงยีนส์ Levi's นั่นเอง !




   มาต่อกันที่ ร้านถัดไป ซึ่งก็อยู่ภายในตลาดสวนจัตุจักรเช่นกัน ซึ่งร้านนี้ขอบอกเลยว่าดังมากในหมู่นักสะสมกางเกงยีนส์ Levi's เก่าๆปีลึกๆครับ คือร้าน จักรยีนส์ นั่นเอง อยู่โครงการ 14 ซอย 1 ครับ ซึ่งตัวผมเองต้องขอบอกเลยว่าพี่จักรที่เป็นเจ้าของร้านคนนี้เนี่ย ตัวจริงเรื่อง Levi's โดยเฉพาะเลยครับ พี่จักรบอกมาว่า ร้านพี่จักรมีกางเกงยีนส์ Levi's ที่เคยขายไป มีตัวหนึ่งราคา 6 หลักด้วย ! โหดมากครับ กางเกงยีนส์ตัวนั้นนอกจากราคาจะแรงแซงรถเมล์สาย 8 แล้ว อายุของตัวกางเกงยีนส์เนี่ย แก่กว่าผมถึง 2 - 3 ช่วงอายุเลยก็ว่าได้ ซึ่งพี่จักรบอกมาว่า เป็นกางเกงที่ผลิตในปี 1940 - 1950 นั่นเอง เรียกได้ว่าตัวจริงมากครับพี่จักรคนนี้ ใครสนใจอยากแวะไปดูหรือใครอยากแวะไปอุดหนุนก็ไปกันได้นะครับ เดินไปได้สะดวกมาก และนี่คือรูปภาพของเจ้าของร้านจักรยีนส์ พี่จักรนะครับ และบรรยากาศของร้านจักรยีนส์ ไปดูกันเลย

                      และนี่คือพี่จักร เจ้าของร้านจักรยีนส์นั่นเอง ภาพนี้ได้มาตอนกำลังสัมภาษเลยครับ



                                           มาต่อกันที่บรรยากาศของทางร้านจักรยีนส์กันเลย !



  เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับส่วนหนึ่งของเรื่องราวตำนานของกางเกงยีนส์ Levi's ซึ่งถ้าหากใครที่มองว่าสิ่งนี้มันเป็นแค่แบรนด์กางเกงยีนส์ธรรมดาๆคงจะไม่เข้าใจเลยว่า กางเกงยีนส์แบรนด์นี้นั้นมีค่ามากแค่ไหนในปัจจุบันครับ จะไม่เข้าใจเลยว่าทำไมใครหลายๆคนถึงได้ยอมซื้อเจ้า Levi's ที่มีราคาตั้งแต่ 4 หลักจนถึง 6 หลัก ตอนนี้ Levi's ผมคิดว่าแบรนด์นี้คือต้นกำเนิดของกางเกงยีนส์ที่แท้จริงครับ จะกี่ยุคสมัย กางเกงยีนส์ที่มีชื่อว่า Levi's ก็ยังคงเป็นแฟชั่นของทุกยุคสมัยอยู่ดี เรียกได้ว่าเป็นบิดาแห่งกางเกงยีนส์กันเลยทีเดียว ถ้าได้ลองศึกษาค้นคว้าดูแล้ว จะทำให้คุณหลงรักแบรนด์นี้แน่นอนครับ คอนเฟิร์ม !





Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.